Skip to content

TEL: 098-642-2479   LINE: @darinhospital

Facebook Twitter Linkedin YouTube
โรงพยาบาลสัตว์ดารินรักษ์

โรงพยาบาลสัตว์ดารินรักษ์

Darin Animal Hospital

  • หน้าแรก
  • เกี่ยวกับเรา
  • สุนัข
  • แมว
  • กระต่าย
  • นก
  • Exotics
  • บทความ
  • ติดต่อเรา
  • ไทยExpand
    • ไทย
    • English
    • 日本語
โรงพยาบาลสัตว์ดารินรักษ์
โรงพยาบาลสัตว์ดารินรักษ์
Darin Animal Hospital

การฝากท้องในสุนัข

ช่วงการคลอดลูกของมนุษย์ถือเป็นความเสี่ยงครั้งสำคัญของคุณแม่ทุกคน ยิ่งถ้าไม่มีวิทยาการทางการแพทย์สมัยใหม่ที่เราเห็นอยู่ในปัจจุบันแล้วความเสี่ยงที่ว่านี้อาจรุนแรงถึงชีวิต และถ้าพูดถึงในสุนัขแล้ว น้อยคนจะรู้ว่ามีความเสี่ยงแทบไม่ต่างจากคน บางครั้งเราทำได้แค่ให้กำลังใจแล้วก็ปล่อยให้คลอดเองตามธรรมชาติ บ้างก็อยากพาไปผ่าคลอดแต่ก็ไม่รู้ว่าจะเริ่มจากตรงไหน บ้างก็คิดว่าคลอดเสร็จแล้วก็ถือว่าจบครบกระบวนความ แต่ที่จริงแล้ววิทยาการสัตวแพทย์ในปัจจุบันสามารถช่วยประเมิน และลดความเสี่ยงส่วนนี้ได้เยอะมาก ลองมาดูกันว่าเราควรรู้และสามารถทำอะไรได้บ้าง

098-642-2479 @darinhospital

ข้อควรรู้ จำได้แล้วชีวิตจะง่ายขึ้น

” สุนัขตั้งท้องประมาณ 58-68 วัน “

“สามีพาภรรยาไปฝากครรภ์กับคุณหมอได้  เจ้าของก็พาสุนัขมาฝากท้องกับสัตวแพทย์ได้ “

 เราไปดูรายละเอียดกัน

  1. จุดเริ่มต้น คือ ถ้าสุนัขได้รับการผสมให้ถือว่าท้องไว้ก่อน โดยนับวันที่ผสมพันธุ์ครั้งสุดท้ายเป็นวันที่ 1 หรือพูดอีกอย่างหนึ่ง คือ วันนี้จะมีวิญญาณหมาน้อยล่องลอยเข้ามาเกิดในท้องคุณแม่แล้ว
  2. ประมาณ 20 วันของการตั้งท้อง อาจจะสามารถอัลตราซาวด์เห็นถุงตัวอ่อนในมดลูกได้ แต่ถ้าอยากมั่นใจว่าอัลตราซาวด์เห็นถุงตัวอ่อนแน่ๆ ก็แนะนำให้มาตรวจช่วง 25-29 วัน (เห็นหัวใจลูกเต้นด้วยนะเออ) ข้อนี้คือการตรวจว่า ท้องจริงหรือไม่
  3. ประมาณ 45 วันของการตั้งท้อง จะสามารถเอ็กเรย์เห็นหัวกะโหลกลูก เมื่อเห็นหัวก็นับจำนวนตัวลูกได้ ใครอยากรู้ว่าเราจะได้หลานกี่ตัวก็รู้ได้ที่ช่วงเวลานี้
  4. ข้อนี้สำคัญต่อการประเมินว่า สุนัขเสี่ยงเกิดภาวะคลอดยากหรือไม่
    • พันธุ์ที่ หัวโต เอวเล็ก หรือ หน้าสั้น หรือ ขาสั้น เช่น  Pug, French bulldog  Corgi, Scottish terrier
    • สุนัขที่เคยได้รับการผ่าตัดเชิงกราน หรือ เคยมีอุบัติเหตุเชิงกรานมา
    • สุนัขอ้วน
    • สุนัขพันธุ์เล็ก กลุ่มนี้อาจไม่ได้มีความผิดปกติทางสรีระ แค่แรงเบ่งน้อยเท่านั้นเอง

ไม่ว่าสุนัขจะเข้าเกณฑ์ตามข้อ 4.1- 4.4 หรือ เป็นกลุ่มอื่นๆ ที่ไม่อยู่ในเกณฑ์นี้ สัตวแพทย์จะมีวิธีประเมินว่าคลอดยากหรือไม่ โดยใช้วิธีการ เอ็กเรย์ เพื่อวัดขนาดความกว้างเชิงกรานตัวแม่เทียบกับหัวกะโหลกลูกในช่วงที่โตเต็มที่แล้ว ถ้าหากหัวลูกโตกว่าเชิงกรานแม่ก็แทบจะบอกได้ว่าคลอดยากแน่ๆ เตรียมตัวผ่าคลอดได้เลย ขั้นตอนนี้จะทำในช่วงวันที่ 55 ของการตั้งท้อง (หรือประมาณ 1 สัปดาห์ก่อนคลอด ให้พามาเอ็กเรย์)

สุนัขคลอดยาก เสี่ยงอะไรบ้าง

  • แม่ตาย
  • ลูกตาย
  • ลูกคลอดไม่ออก แล้วเน่าในท้องแม่ ทำให้แม่ป่วยและตาย
  • ลูกคลอดออกมาได้บางส่วน แต่ยังเหลือค้างในท้องแม่ ก็คือคลอดออกไม่หมด ลูกส่วนที่เหลือค้างในท้องแม่ก็จะตายและเน่า แล้วทำให้แม่ป่วยและอาจตายได้
  • กรณีคลอดยากบางส่วนอาจทำให้แม่ป่วยหลังคลอด แล้วน้ำนมแห้ง  ทำให้ลูกตัวที่คลอดออกมาได้ปกติไม่มีนมกิน เมื่อลูกไม่มีนมกินแล้ว ภาระก็จะตกมาที่เจ้าของที่ต้องหาผลิตภัณฑ์นมเสริม อีกทั้งต้องคอยป้อนนมทั้งวัน และทำแบบนี้ไปอีก 1 เดือน จนกระทั่งลูกสุนัขหย่านม

**หมายเหตุ** ตัวเลขในบทความจะเป็นค่าโดยประมาณ แปรผันตามอายุ พันธุ์ของสุนัข  ไม่เท่ากันทุกตัวนะคะ**

โรงพยาบาลสัตว์ดารินรักษ์

214 ซ.ประเสริฐมนูกิจ 29 แยก 10 (รามอินทรา 14) แขวงจรเข้บัว ลาดพร้าว กรุงเทพฯ 10230

TEL: 098-642-2479
LINE: @darinhospital

ข้อมูลอื่นๆ

ร่วมงานกับเรา

นัดหมายเวลา

Sitemap

Copyright 2025 - โรงพยาบาลสัตว์ดารินรักษ์

Facebook Twitter Linkedin YouTube
  • หน้าแรก
  • เกี่ยวกับเรา
  • สุนัข
  • แมว
  • กระต่าย
  • นก
  • Exotics
  • บทความ
  • ติดต่อเรา
  • ไทย
    • ไทย
    • English
    • 日本語