ข้อมูลทั่วไปของแฮมสเตอร์

การศึกษาข้อมูลของแฮมสเตอร์เป็นสิ่งที่จำเป็นสำหรับผู้ที่สนใจจะเลี้ยงหรือผู้ที่เลี้ยงหนูแฮมสเตอร์อยู่แล้ว เพื่อที่จะได้รู้จักเพื่อนตัวเล็กๆเหล่านี้ดียิ่งขึ้น เช่น แฮมสเตอร์มีลักษณะทางกายภาพของที่โดดเด่น คือ การมีกระพุ้งแก้มและฟันตัดที่เติบโตตลอดชีวิต ชนิดของแฮมสเตอร์ที่นิยมเลี้ยง อาหารการกินของแฮมสเตอร์ เป็นต้น
ชนิดของแฮมสเตอร์ที่นิยมเลี้ยง
แฮมสเตอร์ที่นิยมเลี้ยงกันทั่วไปมี 5 ชนิดหลักๆ คือ

Syrian Hamster
(Cricetulus auratus)
หรือที่เรียกว่า Teddy Bear (ขนยาว) หรือ Standard (ขนสั้น) เป็นแฮมสเตอร์ขนาดใหญ่กว่าชนิดอื่นๆ

Winter White Russian Hamster
(Phodopus sungorus)
บางครั้งเรียกว่า Siberian hamster หรือ Hungarian hamster เป็นหนึ่งในสายพันธุ์แคระ

Campbell Russian Hamster
(Phodopus campbell)
บางครั้งเรียกว่า Siberian hamster เช่นกัน หรือ European hamster เป็นอีกหนึ่งสายพันธุ์แคระ

Chinese Hamster
(Cricetulus griseus)
บางครั้งเรียกว่า Striped hamster เป็นสายพันธุ์แคระที่มีรูปร่างเรียวยาวกว่า

Roborovski Hamster
(Phodopus roborovski)
บางครั้งเรียกว่า Desert hamster เป็นแฮมสเตอร์แคระที่เล็กที่สุดและว่องไวที่สุด
ข้อมูลทั่วไปของแฮมสเตอร์
- อัตราการเต้นของหัวใจ (Heart rate): อยู่ที่ 280-400 ครั้งต่อนาที หรืออาจมากกว่านั้น
- อัตราการหายใจ (Respiratory rate): อยู่ในช่วง 35-130 ครั้งต่อนาที
- การสืบพันธุ์:
- เข้าสู่วัยเจริญพันธุ์เร็ว: บางชนิด 6-8 สัปดาห์ บางชนิด 7-14 สัปดาห์
- ระยะเป็นสัด: เพียง 4 วัน
- ระยะเวลาตั้งท้อง: 15-21 วัน ขึ้นอยู่กับสายพันธุ์
- หย่านม: 3-4 สัปดาห์
โครงสร้างทางร่างกาย
- ฟัน: มีฟันตัดบน 1 คู่ และฟันตัดล่าง 1 คู่ โดยมี enamel สีเหลือง
- การขับถ่าย:
- เพศเมีย: มักมีมูกในปัสสาวะ โดยเฉพาะช่วงท้ายของการเป็นสัด
- เพศผู้: อาจพบเมือกที่ปลายอวัยวะเพศได้บ้าง (คล้ายในแก๊สบี้ตัวผู้)
- กระพุ้งแก้ม (Cheek pouch): มีกระพุ้งแก้มสำหรับเก็บอาหาร ซึ่งเจ้าของอาจเข้าใจผิดว่าน้องกินหมดแล้วและให้อาหารเพิ่ม ดังนั้นควรสังเกตแก้มของน้องเสมอ เพราะหากอาหารมีการบูดเน่าจะทำให้เกิดการอักเสบหรือติดเชื้อได้

อาหารและโภชนาการที่ควรได้รับ
- แฮมสเตอร์เป็นสัตว์ omnivore (กินทั้งพืชและเนื้อสัตว์)
- มีพฤติกรรม กินอึตัวเอง (coprophagy): เริ่มหัดกินอึตั้งแต่อายุ 1 สัปดาห์
- โปรตีน: ควรได้รับโปรตีนสูง แต่ไม่ควรสูงเท่าสัตว์กินเนื้อ (carnivore) เพราะร่างกายสามารถสังเคราะห์โปรตีนได้เอง (ประมาณ 14-16%) ควรระวังอาหารสำเร็จรูปที่โปรตีนสูงอาจมีคาร์โบไฮเดรตสูงด้วย
- ไขมัน: ไม่ควรเกิน 5-7% เพื่อป้องกันไขมันในร่างกายสูงเกินไป

เจ้าของแฮมสเตอร์ควรศึกษาข้อมูลของแฮมสเตอร์เบื้องต้น ไม่ว่าจะเป็นเรื่องโครงสร้างร่างกาย ลักษณะนิสัย พฤติกรรมการกิน อาหารและโภชนาการของหนูแฮมสเตอร์ และสังเกตพฤติกรรมและอาการผิดปกติ หากหนูแฮมเตอร์มีอาการผิดปติ เช่น กินอาหารน้อยลง ท้องเสีย ขนร่วง ซึม ฟันยาว ตาขุ่นมัว ควรรีบพาไปตรวจที่โรงพยาบาลแฮมสเตอร์ เพื่อทำการวินิจฉัยและรักษาอย่างเหมาะสม
โรงพยาบาลสัตว์ ดารินรักษ์ (Darin Animal Hospital)
214 ซ.ประเสริฐมนูกิจ 29 แยก 10 (รามอินทรา 14) จรเข้บัว ลาดพร้าว กรุงเทพฯ 10230